Espresso มาจากคำว่า Express ที่แปลว่า รวดเร็ว หรือเปรียบดั่งช็อตกาแฟที่ถูกสกัดโดยใช้เวลาเพียงไม่นาน แต่อุปกรณ์ที่สามารถสกัดกาแฟได้รวดเร็ว รสชาติดี และมีความเสถียร คงหนีไม่พ้นเครื่องชงกาแฟเอสเพรสโซ ที่ใช้ ‘แรงดัน’ เป็นตัวช่วยในการสกัด ดังนั้น แรงดัน จึงเป็นอีกหนึ่งหัวใจสำคัญของเครื่องชงกาแฟ ที่ทำให้สามารถสกัดกาแฟได้ผลลัพธ์ที่ดีเยี่ยมนั่นเอง
เครื่องชงกาแฟเอสเพรสโซที่ดีควรให้แรงดันสม่ำเสมอ และคงที่ตลอดกระบวนการสกัดกาแฟ เพื่อให้เกิดแรงสกัดที่เหมาะสมและเพียงพอต่อการสกัดจนสามารถดึงเอารสชาติของกาแฟออกมาได้ โดยแรงดันในการสกัดจะต้องไม่มากจนเกินไป เพราะจะทำให้ดึงเอาสารที่มีรสขมของกาแฟออกมามากเกินพอดี ซึ่งแรงดันที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการชงเอสเพรสโซ จะอยู่ที่ประมาณ 9 บาร์ หรือ 130 psi
ตามทฤษฎี แรงดันเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการสกัดกาแฟเอสเพรสโซ เพราะแรงดันของน้ำที่ไหลผ่านผงกาแฟจะช่วยดึงรสชาติและกลิ่นหอมของกาแฟออกมา ทำให้ได้เอสเพรสโซช็อตที่เข้มข้น
แล้วรู้หรือไม่? ว่าแรงดันที่ใช้ในการสกัดกาแฟมาจากไหน? แล้วทำไมเครื่องชงกาแฟแต่ละยี่ห้อ แต่ละรุ่นถึงมีแรงดันไม่เท่ากัน วันนี้ Bluekoff จะมาเฉลย พร้อมพาทุกคนไปทำความรู้จักและทำความเข้าใจให้ลึกมากยิ่งขึ้น
เดิมที ‘แรงดัน’ ของเครื่องชงกาแฟเกิดจากแรงดันของไอน้ำที่ถูกต้มจนเดือด ประมาณ 1.5 บาร์ ต่อมามีการพัฒนาโดยใช้แรงของสปริงเป็นตัวส่งให้เกิดการสร้างแรงดัน ทำให้เกิดแรงดันที่มากขึ้น และเมื่อเริ่มทำการสกัดกาแฟ แรงดันที่มีอยู่จะค่อยๆ ลดลง จะไม่ได้มีแรงดันที่ต่อเนื่องตลอดการสกัดกาแฟ ซึ่งในปัจจุบันยังมีเครื่องชงที่เป็นลักษณะคันโยกที่ใช้แรงต้านของสปริงเป็นตัวช่วยในการสกัดอยู่ เช่น La Marzocco Leva เป็นต้น โดยภายในได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ อย่างการติดตั้ง ‘ปั๊มน้ำ’ เข้ามาใช้ร่วมกับเครื่องชงกาแฟ เพื่อให้มีแรงดันที่สม่ำเสมอ ไม่ลดลงในระหว่างทำการสกัดกาแฟ ส่งผลให้ได้รสชาติของช็อตเอสเพรสโซที่เข้มข้น รสชาติเสถียร และใกล้เคียงกันในทุกๆ ช็อต
ปัจจุบัน ‘ปั๊มน้ำ’ ที่ใช้ในเครื่องชงกาแฟหลักๆ จะมีอยู่ 2 ประเภท ได้แก่ ปั๊มแบบสั่น (Vibration Pump) กับปั๊มแบบโรตารี (Rotary Pump) โดยปั๊มแบบโรตารี่จะมีปั๊มชนิดย่อยอีก 2 ประเภท โดยบทความนี้เราจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับ ‘ปั๊มน้ำ’ ว่าแต่ละแบบมีความแตกต่างกันอย่างไร...
ปั๊มแบบสั่น จะใช้ลูกสูบและพลังงานแม่เหล็กในการดึงลูกสูบเดินหน้าและถอยหลังเพื่อให้เกิดแรงดัน โดยเครื่องชงกาแฟที่ใช้ปั๊มแบบสั่นจะมีข้อสังเกตุ คือ เป็นเครื่องชงที่สร้างแรงดันในการสกัดได้ประมาณ 15 – 18 บาร์
มักพบในเครื่องชงกาแฟขนาดเล็ก แบบ 1 หัวชง และเครื่องชงกาแฟแบบ Home Use
ข้อดี
ข้อเสีย
ปั๊มแบบโรตารี่ จะมีทั้งหมด 2 แบบ คือ แบบครีบ (Vane Pump) และแบบเฟือง (Geared Pump) โดยปั๊มทั้งสองแบบจะถูกทำให้หมุนโดยมอเตอร์ ส่งผลให้ปั๊มมีขนาดที่ใหญ่ แต่มีความเสถียรและมีอายุการใช้งานที่นานกว่า รวมถึงมีราคาที่แพงกว่าปั๊มแบบสั่นอีกด้วย มักพบได้ในเครื่องชงกาแฟระดับ Commercial
ซึ่งปั๊มประเภทนี้ จะให้แรงดันในการสกัดกาแฟคงที่กว่าปั๊มแบบสั่น เนื่องจากมีครีบติดอยู่บนตัวหมุนหลายด้านของตัวหมุน ทำให้สามารถสร้างแรงดันได้ตลอดระหว่างการหมุน โดยปั๊มประเภทนี้จะสร้างแรงดันได้ถึง 9 - 10 บาร์ ทำให้ได้ผลลัพธ์ของช็อตกาแฟที่สม่ำเสมอ เหมาะกับการใช้งานเครื่องชงกาแฟแบบต่อเนื่อง
มักพบใน เครื่องชง Commercial เกือบทุกรุ่น เช่น La Marzocco รุ่น Linea, GB5 และยี่ห้อ CIME หรือ BFC ทุกรุ่น เป็นต้น
ปั๊มแบบเฟืองนั้นมีประสิทธิภาพในเรื่องความทนทานน้อยกว่าปั๊มแบบหัวครีบ แต่ข้อดีเลยคือ มีขนาดที่เล็กกว่า ทำให้ประหยัดพื้นที่ภายในเครื่องได้ และสามารถสร้างแรงดันได้แบบ Real Time ทำให้บาริสต้าสามารถทดลองชงกาแฟได้หลากหลายรูปแบบมากขึ้น กระทั่งสามารถสร้างโปรไฟล์แรงดันในการสกัดให้เหมาะสมกับกาแฟที่มีความแตกต่างกันได้ เพื่อให้ได้รสชาติที่ดีที่สุดของกาแฟนั้นๆ
มักพบใน เครื่องชง La Marzocco รุ่น Strada EP, Strada X และ Modbar รุ่น EP
สำหรับใครที่กำลังมองหาและกำลังศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องชงกาแฟ เพื่อนำไปใช้ที่ร้านหรือที่บ้านสักเครื่อง การเข้าใจถึงระบบของแรงดันและตัวปั๊มภายในเครื่องชง สามารถช่วยเพิ่มการตัดสินใจในการเลือกซื้อเครื่องชงกาแฟได้ หรือจะเข้ามาปรึกษาเราที่ Bluekoff Showroom ก็สามารถทำได้ เพราะเรามีทีมงานผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำแนะนำและพร้อมให้คำปรึกษาเกี่ยวกับเครื่องชงกาแฟ รวมถึงอุปกรณ์อื่นๆ ที่ใช้ภายในร้าน เพื่อให้ตอบโจทย์กับการใช้งานและความต้องการของเรามากยิ่งขึ้นได้
สามารถติดตามข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเรื่องราวของกาแฟและอื่นๆ ได้ที่เพจ Facebook: Bluekoff หรือทุกแพลตฟอร์มของ Bluekoff
Bluekoff Co.,Ltd. สำนักงานใหญ่
และสถานที่เรียนชงกาแฟ
81 ซอยลาดพร้าว 15 แยก 1 ถนนลาดพร้าว
แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
จันทร์ - เสาร์ 8:30น. - 17:00น.
หยุดวันอาทิตย์ และวันหยุดนขัตฤกษ์